ชป.ร่วมพัฒนาและฟื้นฟูกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา

 

 
image-1
image-2
 

 

 

วันที่ 19 ก.พ. 64 ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ครั้งที่ 1/2564 โดยในส่วนของกรมชลประทานมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน และนายปาโมก ปิงเมือง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพะเยา เข้าร่วมประชุมฯ

สำหรับการประชุมฯในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันพิจารณายกร่างแนวทางการพัฒนากว๊านพะเยา ตามแนวทางการพัฒนาภายใต้แผนแม่บทในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ประกอบไปด้วย การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การวางแผนขยายและเพิ่มเขตจ่ายน้ำ การจัดหาน้ำสำรองและน้ำต้นทุน การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต การจัดการปัญหาอุทกภัย การจัดคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณกว๊านพะเยา การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา และการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินกว๊านพะเยา โดยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
 
ทั้งนี้ ในส่วนของกรมชลประทาน มีแผนดำเนินงานพัฒนากว๊านพะเยา 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำเพิ่มความชุ่มชื่นช่วยอนุรักษ์กว๊านพะเยา โครงการขุดลอกตะกอนดินกว๊านพะเยา ด้วยการขุดลอกฝั่งตะวันตกและทำดินทิ้งถมบริเวณที่ลุ่มต่ำรอบกว๊านพะเยา ให้อยู่ในระดับที่น้ำท่วมไม่ถึงหากมีการเก็บกักน้ำสูงสุด การขุดลอกลำน้ำธรรมชาติเพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
 
นอกจากนี้ ยังมีงานระบบระบายน้ำรอบกว๊านพะเยา ด้วยการก่อสร้างอาคารท่อลอดถนนพร้อมอาคารอัดน้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากและเก็บกักน้ำไว้ในลำน้ำธรรมชาติ การปรับปรุงอาคารป้องกันน้ำเข้าสู่เมือง และการทำฝายดักตะกอนในลำน้ำก่อนเข้าสู่กว๊านพะเยา เป็นต้น หากสามารถดำเนินการได้ทั้งหมดจะทำให้มีปริมาณน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ช่วยบรรเทาปัญหาทั้งภัยแล้งและอุทกภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก
 
ทั้งนี้ การพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ ที่จะส่งผลให้เพิ่มศักยภาพการผลิตทางการเกษตรของพื้นที่ได้ประมาน 200,000 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 40,000 ครัวเรือน และมีน้ำ