องคมนตรี ขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

407945502 751617543679519 6161236345376733254 n

407975658 751617937012813 4356458205318670205 n

 

407846040 751617800346160 442577026880036920 n

407998372 751617857012821 5678638992108893589 n

 

         เช้าวันนี้ ( 6 ธ.ค. 66) นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมด้วยนายศุภรัชต์ อินทราวุธ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการฯ เดินทางไปติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมี นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน นายทวีชัย โค้วตระกูล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วัง นายสัณฐิต พีรานนท์ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายอธินันทน์ นาวิกนันทน์ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการชลประทานเชียงราย รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมติดตามผลการดำเนินงานโครงการทำนบดินห้วยป่าดำ และพัฒนาแก้มลิงหนองผาพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
 
สำหรับโครงการทำนบดินห้วยป่าดำ และพัฒนาแก้มลิงหนองผาพร้อมระบบส่งน้ำฯ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ตามที่นายอินตา เมืองมูล ราษฎรบ้านแม่อ้อนอก หมู่ที่ 2 ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยป่าดำ เพื่อช่วยเหลือราษฎร 2 หมู่บ้าน ของตำบลแม่อ้อ ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน กปร. มีลักษณะเป็นทำนบดิน ขนาดความสูง 11 เมตร ยาว 177 เมตร กว้าง 8 เมตร พร้อมระบบท่อส่งน้ำ ความยาว 460 เมตร ไปยังหนองผา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในพื้นที่ มีความจุประมาณ 250,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่ราษฎรตำบลแม่อ้อ และพื้นที่ใกล้เคียงได้ 22 หมู่บ้าน 282 ครัวเรือน ประชากร 739 ราย พื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 400 ไร่ ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ องคมนตรี ได้พบปะประชาชนในพื้นที่ ก่อนที่จะมีการปล่อยพันธุ์ปลายี่สก จำนวน 20,000 ตัว ลงในอ่างเก็บน้ำฯ เพื่อรักษาระบบนิเวศ พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่โครงการฯ ตามลำดับด้วย