ผู้ออนไลน์

เรามี 17 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เขียนโครงการสูงสุด

กลุ่มพิจารณาโครงการ สชป.17: 134 รายการ
ส่วนปฏิบัติการ สชป.16: 89 รายการ
ฝ่ายโครงการพิเศษ สชป.2: 69 รายการ
กองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: 54 รายการ
กลุ่มพิจารณาโครงการ สชป.4: 42 รายการ
ส่วนปฏิบัติการ สชป.5: 28 รายการ
กลุ่มกิจกรรมพิเศษ สชป.1 นายจักรกฤษณ์ ชมภูบาง : 23 รายการ
อธิพล ศรีหล้า สชป.7: 17 รายการ
นายนิวัต แจ้งสว่าง ฝ่ายโครงการพิเศษ ส่วนปฏิบัติการ สชป.14: 15 รายการ
ผู้ดูแลระบบ: 14 รายการ
นายเกริกไกร ศิริวัฒนกุล สชป.6: 13 รายการ
ส่วนปฏิบัติการ สชป.13: 11 รายการ
ชื่อ นามสกุล สชป.3: 10 รายการ
ชื่อ นามสกุล สชป.15: 8 รายการ
ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล สคญ.: 6 รายการ
ฝ่ายโครงการพิเศษ สชป.9: 3 รายการ
ชื่อ นามสกุล สชป.8: 2 รายการ
นายประสิทธิ์ เสือทอง สชป.11: 2 รายการ
วสันต์ โพธิ์ศรี ฝ่ายโครงการพิเศษ สชป.10: 1 รายการ
ชื่อ นามสกุล สชป.12: 0 รายการ
ศูนย์สารสนเทศ: 0 รายการ
 

ประกาศ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน อาจแสดงผลโครงการฯไม่สมบูรณ์ ขออภัยในความไม่สะดวก

โครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พิมพ์ อีเมล

โครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระราชดำริเมื่อ

เมื่อวันที่  10  มิถุนายน  2546  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้พระราชทานพระราชดำริแก่พลโท  ประวิตร  วงษ์สุวรรณ  แม่ทัพภาพที่ 1  และรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ให้การสนับสนุนกรมชลประทานในการพิจารณาเพิ่มปริมาณการเก็บกักของอ่างเก็บน้ำยางชุม  เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่ากุยบุรี  ตลอดจนส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ

ต่อมาเมื่อวันที่  6  ตุลาคม  2546  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแก่  พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ  ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก  พลโท ไพศาล  กตัญญู  แม่ทัพภาคที่ 1  เลขาธิการ กปร.  อธิบดีกรมชลประทาน  อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช  และผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์    วังไกลกังวล  สรุปความว่า

ให้พิจารณาการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำยางชุม  สามารถเก็บกักและระบายออกท้ายเขื่อน  โดยไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างเดิม  ให้ทำให้เร็วที่สุด  เริ่มหลังฝนนี้  ใช้เวลา 2 ปี เสร็จปี 2548  โดยให้ กปร. สนับสนุนงบประมาณเพื่อเริ่มต้นได้เร็ว  และให้พิจารณานำน้ำจากอ่างเก็บน้ำ  โดยวางท่อนำน้ำไปทำบ่อพักไว้บริเวณที่เป็นเนินและทำระบบกระจายน้ำและนำน้ำไปใช้ประโยชน์

สถานที่ตั้ง      บ้านยางชุม  ต.หาดขาม  อ.กุยบุรี  จ.ประจวบคีรีขันธ์

วัตถุประสงค์

1. เพื่อนำน้ำที่เก็บกักได้เพิ่มเติมจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุมมาพัฒนาส่งให้พื้นที่เพาะปลูกที่ยังไม่ได้รับน้ำชลประทาน  เป็นการเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้กับโครงการอ่างเก็บน้ำยางชุม

2. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภคและการเกษตรกรรมของราษฎร

3. เพื่อให้พื้นที่บริเวณที่ได้รับประโยชน์และบริเวณใกล้เคียงมีความเจริญ  เป็นการเพิ่มมูลค่าที่ดิน

สภาพทั่วไป        

อำเภอกุยบุรี  ตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตก  มีแม่น้ำกุยบุรีเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลจากเทือกเขาตะนาวศรีทางด้านทิศตะวันตกไปลงทะเลทางทิศตะวันออกที่บ้านปากคลองเกลียว  อำเภอกุยบุรี  แบ่งพื้นที่ตามลักษณะภูมิประเทศได้เป็นสองส่วน คือ  ทางฝั่งทิศตะวันตกของถนนเพชรเกษม  มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล  มีความลาดเทจากทางด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก  และเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ  ส่วนราชการต่างๆ และเป็นชุมชนการค้าของอำเภอ

การประกอบอาชีพและสภาพทางเศรษฐกิจ  อำเภอกุยบุรี เป็น 1 ใน 8 อำเภอ ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ค่าครองชีพค่อนข้างสูง  ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร เช่น การทำสวนมะพร้าว  ทำไร่สับปะรด  ทำการประมง  ส่วนในเขตเทศบาลตลอดจนแถบชานเมืองที่อยู่ใกล้กับเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางธุรกิจการค้า การบริการ การก่อสร้าง และการคมนาคมขนส่ง  และมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจการค้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว  และมีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม  บ้านจัดสรร  อาคารพาณิชย์  ศูนย์การค้า  โรงแรม  และสถานบริการต่างๆ  เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สภาพปัญหาทั่วไปในพื้นที่โครงการ  อำเภอกุยบุรี เป็นอำเภอที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เนื่องจากจุดที่ตั้งและความพร้อมทั้งทางด้านหน่วยงานราชการและเอกชน  ทำให้มีการขยายตัวของตัวเมืองและเพิ่มขึ้นของประชากร  จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเหมือนเมืองใหญ่ๆ ทั่วไป  เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย  ปัญหาการกำจัดขยะ  ปัญหาการจราจรติดขัด  ซึ่งนับว่าจะเพิ่มขึ้น  ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต  แหล่งน้ำปัจจุบันที่นำมาทำน้ำประปา  คือ  น้ำจากคลองกุย  ซึ่งนับวันน้ำในแม่น้ำจะไม่ดีพอ เนื่องจากปัญหาน้ำเค็ม  และน้ำมีสารเคมีเจือปน  รวมทั้งแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้เพื่อการเกษตรกรรม  มีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตร  ดังนั้น  จึงต้องพิจารณานำน้ำจากแหล่งน้ำที่ได้มีการก่อสร้างไว้ คือ โครงการอ่างเก็บน้ำยางชุม  ซึ่งจะต้องพัฒนาเพื่อรองรับกับความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม และการอุปโภค-บริโภค ที่ปริมาณความต้องการสูงขึ้นในอนาคต

ระยะเวลาก่อสร้าง              

ระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ เริ่มปีงบประมาณ 2549  แล้วเสร็จปีงบประมาณ 2552

รายละเอียดโครงการ

ก่อสร้างระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ  ความยาวรวม  23.973  กิโลเมตร

สระเก็บน้ำ  11  แห่ง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่  5,000  ไร่ 

ความก้าวหน้าของโครงการ

ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ  100  %  ในปีงบประมาณ 2552

ภาพโครงการ



                                                     งานก่อสร้างท่อส่งน้ำ

 

re-s-yarngchum1 re-s-yarngchum2




                                                  งานก่อสร้างสระเก็บน้ำ

 

 

re-s-yarngchum3 re-s-yarngchum4