โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี 138 กม.
ประวัติโครงการอ่างฯห้วยพลาญเสือตอนบน
เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเป็นโครงการตามแผนพัฒนาเสริมความมั่นคงพื้นที่ชายแดนในเขตอีสานตอนล่าง ที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาทกับ พลโท พิศิษฐ์ เหมบุตร แม่ทัพภาคที่ 2 (ตำแหน่งในขณะนั้น) พร้อมคณะทำงานพัฒนาเสริมความมั่นคง พื้นที่ชายแดนอีสานตอนบนและตอนล่าง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2528 ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเดียก จังหวัดสกลนคร
สภาพลำน้ำและภูมิประเทศ
โดยทั่วไปมีสภาพเป็นป่าค่อนข้างทึบตามเทือกเขา พื้นที่ค่อนข้างสูงชันมีความลาดเทจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือ สภาพลำห้วยบริเวณหัวงานกว้างประมาณ 8 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร ท้องลำห้วยเป็นทราย บางช่วงมีหินปรากฏให้เห็นเป็นแห่งๆ ความยาวของลำห้วยถึง
หัวงาน ประมาณ 4.6 กิโลเมตร อัตราความลาดเทของท้องลำห้วย 1 : 200
สภาพทางอุทกวิทยาและแหล่งน้ำ
พื้นที่รับน้ำลงอ่างฯ 8.7 ตร.กม.
ฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,508.20 มม.
จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 90.60 วัน
อัตราการระเหยเฉลี่ยทั้งปี 1,495.40 มม.
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างในเกณฑ์เฉลี่ย 3.58 ล้าน ลบ.ม. /ปี
ระดับสันทำนบดิน +332.00 ม.(รทก.)
ระดับน้ำนองสูงสุด +331.03 ม.(รทก.)
ระดับเก็บกัก +300.50 ม.(รทก.)
ระดับน้ำต่ำสุด +322.00 ม.(รทก.)
ความจุของอ่างฯที่ระดับน้ำนองสูงสุด 6.00 ล้านลบ.ม.
ความจุของอ่างฯที่ระดับเก็บกัก 5.00 ล้านลบ.ม.
ความจุของอ่างฯที่ระดับ Dead Storage 0.80 ล้าน ลบ.ม.
พื้นที่ผิวอ่างฯที่ระดับเก็บกัก 1,690 ไร่
หัวงานและอาคารประกอบ
1.ทำนบดินปิดกั้นลำห้วยพลาญเสือ เป็นแบบ HOMO GENEOUS TYPE สันทำนบ กว้าง 7 เมตร ยาว 282 เมตร ส่วนที่สูงที่สุด 16 เมตร
2.อาคารระบายน้ำล้น เป็นแบบ OPEN CHANNEL ความยาวสันฝาย 20 เมตร
ความยาวของอาคาร 184 เมตร ระบายน้ำได้สูงสุด 30 ลบ.ม./วินาที
3. อาคารท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย 1 แห่ง
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ 0.40 เมตร
- ส่งน้ำได้สูงสุด 0.643 ลบม./วินาที
ระยะเวลาดำเนินการ
ก่อสร้างแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2531 โดย
1. ปี พ.ศ. 2531 ก่อสร้างทำนบดินพร้อมอาคารประกอบ
2. ปี พ.ศ. 2534 ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำเพื่อเพิ่มระดับเก็บกัก ยกระดับสูง 0.50 เมตร
พื้นที่โครงการ
ยังไม่มีระบบส่งน้ำ
ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับจากโครงการ
1. เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค-บริโภค ของหน่วยทหารตามฐานปฏิบัติการพื้นที่ช่องบก
2. เพื่อเป็นเครื่องกีดขวาง สกัดกั้นการรุกรานจากกองกำลังภายนอกประเทศ ตามหลักยุทธศาสตร์ทางทหาร ก่อให้เกิดความมั่นคงพื้นที่ตามแนวชายแดนบริเวณช่องบก
3.เป็นแหล่งอาหารจากการทำประมงน้ำจืดใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
ภาพโครงการ