โครงการเขื่อนลำนางรอง
ที่ตั้ง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำนางรอง สำนักชลประทานที่ 8
ประวัติ ตั้งแต่พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา บริเวณพื้นที่อำเภอโนนดินแดง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ผกค. ได้ขัดขวางการพัฒนาทุกรูปแบบ มีการต่อสู้ที่รุนแรงในพื้นที่มีการปล้นสะดมตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ราษฎรไม่สามารถออกไปทำกินนอกหมู่บ้านได้ ความรุนแรงของสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ ราษฎรที่กระจายกันทำกินอยู่ทั่วพื้นที่ อพยพเข้ามาอยู่ในบ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง ก่อให้เกิดปัญหาความแออัดอดอยากทุกข์ยากแสนสาหัส ความได้ทรงทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เมื่อวันที่ 11 และ 31 ตุลาคม 2521 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้อธิบดีกรมชลประทานเข้าเฝ้าเพื่อรับพระราช ดำริเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำลำนางรองโดยทรงให้พิจารณาสร้าง เขื่อนลำนางรอง อ่างฯ คลองมะนาว อ่างฯ ลำปะเทีย อ่างฯ ลำจังหัน พร้อมสร้างระบบส่งน้ำ อาคารประกอบ
วัตถุประสงค์ เพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค
สภาพทั่วไป สร้างปิดกั้นลำนางรองที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ลักษณะเป็นเขื่อนดินสูง 23 เมตร ยาว 1,500 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร กักเก็บน้ำได้ 121.414 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมด้วยอาคารประกอบทางระบายน้ำล้นและท่อระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา ระบบส่งน้ำ ประกอบด้วยคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา เป็นคลองดาดคอนกรีต จำนวน 2 สาย รวมความยาว 90.431 กิโลเมตร พร้อมด้วยคลองส่งน้ำสายซอยและแยกซอยเป็นคลองดาดคอนกรีต จำนวน 22 สาย ความยาวรวม 74.359 กิโลเมตร และอาคารประกอบรวม 179 แห่ง นอกจากนี้แล้วยังมีพื้นที่ที่จัดรูปที่ดินสมบูรณ์แบบแล้ว จำนวน 446 ไร่ มีคูส่งน้ำจำนวน 20 สาย ความยาวรวม 7.428 กิโลเมตร คูระบายน้ำจำนวน 25 สาย ความยาวรวม 8.110 กิโลเมตร และอาคารประกอบรวม 917 แห่ง และยังมีพื้นที่คันคูน้ำจำนวน 54,254 ไร่ ประกอบด้วยคูส่งน้ำ 266 สาย ความยาวรวม 361.775 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 48 หมู่บ้าน 8 ตำบล 5 อำเภอ คือ อำเภอโนนดินแดง ละหานทราย ปะคำ นางรอง และเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 68,410 ไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 7,471 ครัวเรือน
ระยะเวลาดำเนินการ ก่อสร้างตัวเขื่อนและอาคารประกอบระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2525 ก่อสร้างระบบส่งน้ำระหว่าง พ.ศ. 2528 - 2534 ราคาค่าก่อสร้าง 107.000 ล้านบาท
ประโยชน์ที่ได้รับ ความจุน้ำเก็บกัก 121 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน 68,410 ไร่
ผลการดำเนินงาน พื้นที่รับน้ำฝนเหนือที่ตั้งเขื่อน 450 ตารางกิโลเมตร ปริมาณฝนเฉลี่ยปีละ 1,200 มม.
ระดับท้องน้ำหัวงาน +220.40 ม.(รทก.) ปริมาณน้ำไหลในลำน้ำบริเวณที่ตั้งเขื่อน ลบ.ม./วินาที
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยปีละ 41.077 ล้าน ลบ.ม.
พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับสูงสุด 25,700,000 ตารางเมตร พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก 21,100,000 ตารางเมตร
พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับต่ำสุด 1,900,000 ตารางเมตร ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำสูงสุด 196.67 ล้าน ลบ.ม.
ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำเก็บกัก 121.414 ล้าน ลบ.ม. ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับน้ำต่ำสุด 3.452 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้งาน 117.962 ล้าน ลบ.ม. อายุการใช้งานของเขื่อน 100 ปี
ความจุของตะกอน 3.452 ล้าน ลบ.ม. เขื่อน เขื่อนประเภท เขื่อนดิน
ความสูงของเขื่อน 23 เมตร ความยาวของเขื่อน 1,500 เมตร ความกว้างสันเขื่อน 8.00 เมตร ความกว้างฐานเขื่อนที่ระดับท้องน้ำ 162 เมตร ลาดหน้าเขื่อน 1:3
ลาดท้ายเขื่อน 1:2.5 ระดับสันเขื่อน +244.00 ม.(รทก.) ระดับน้ำสูงสุด +242.50 ม.(รทก.) ระดับน้ำเก็บกัก +240.00 ม.(รทก.) ระดับน้ำเก็บกักต่ำสุด +229.00 ม.(รทก.) ปริมาตรวัสดุถมตัวเขื่อน ล้าน ลบ.ม. Return Period 100 ปี
ความจุน้ำเก็บกัก 121 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน 68,410 ไร่
ภาพโครงการ
  
หาดลำนางรอง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น"ทะเลสาบแห่งอีสานใต้" หาดลำนางรองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้ทุกวัน
บริการสำหรับนักท่องเที่ยวคือ บริการเรื่องอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้าสวัสดิการซึ่งเปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 22.00 น.
|