1) เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ ประกอบด้วย
(1) เขื่อนหลัก (Main Dam)
· เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัด (Roller Compacted Concrete หรือ RCC Dam) สูง 93 เมตร ระดับสันเขื่อน+112 ม.รทก. ความยาว 2,594 เมตร ปริมาตรคอนกรีตบดอัด 5,470,000 ลูกบาศก์เมตร
(2) อาคารระบายน้ำล้น (Spillway)
· เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,454 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ผ่านช่องระบาย 4 ช่อง มีรูปลักษณะเป็นฝายที่ระดับ +103.50 ม.รทก. ซึ่งควบคุมด้วย Radial Gate 4 ชุด ขนาดชุดละ 10.00 x 8.40 เมตร
(3) อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet)
· เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ควบคุมอัตราการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.00 x 5.00 เมตร และ Butterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร โดยมีระดับธรณีท่อ +28.50 ม.รทก. ระบายผ่านท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร และควบคุมการปล่อยลงท้ายน้ำด้วย Hollow Jet Valve Ø 1.80 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 42 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
(4) อาคารระบายน้ำ (Bottom Outlet)
· เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระดับธรณี +29.00 ม.รทก. ระบายน้ำผ่านช่องขนาดกว้าง 5.0 เมตร สูง 3.0 เมตร ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.50 x 3.90 เมตร และ Radial Gate ขนาด 2.50 x 3.45 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 182.0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งสามารถลดระดับน้ำจากระดับเก็บกักที่ + 110.00 ม.รทก. ลงมาที่ระดับ +70.00 ม.รทก. ภายใน 10 วัน
(5) อาคารส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน (lrrigation Outlet)
· เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบายน้ำผ่านท่อสแตนเลส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.90 เมตร จำนวน 1 ท่อ มีระดับธรณี +38.45 ม.รทก. ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate และ Butterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร รวม 2 ชุด ระบายน้ำลงคลองชลประทานโดย Hollow Jet Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร (2 ชุด) สามารถส่งน้ำเข้าคลองได้รวม 6.05 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
(6) อาคารผันน้ำระหว่างการก่อสร้างเขื่อน ประกอบด้วย
· ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม ขนาดสูง 12.00 เมตร ระดับสันทำนบ +39.00 ม.รทก. กว้าง 5.00 เมตร ความยาวรวม 1,084 เมตร
· อาคารคอนกรีต Retaining Wall ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ขนาดความสูง 12.00 เมตร และ 13.00 เมตร ตามลำดับ
· อาคารผันน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ 2 ช่อง ขนาด 7.00 x 9.00 เมตร และ 6.00 x 9.00 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 700 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (Return Period 20 ปี) โดยมีระดับธรณี +27.00 ม.รทก.
(7) เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam)
· เป็นเขื่อนดินสูง 46.0 เมตร สันเขื่อนที่ระดับ +114 ม.รทก. กว้าง 8.0 เมตร ยาว 350 เมตร ปริมาตรเขื่อน 1,220,000 ลูกบาศก์เมตร
2) ระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำ ประกอบด้วย
(1) พื้นที่โครงการท่าด่านเดิมและส่วนขยาย รวม 20,000 ไร่
(2) พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก 165,000 ไร่
ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. ส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่ รวม 185,000 ไร่
2. ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 16 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี
3. เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5,400 ครัวเรือน
4. บรรเทาปัญหาดินเปรี้ยว
5. ลดความเสียหายจากอุทกภัย ได้ร้อยละ 35
การดำเนินงาน :
งานเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเริ่มเก็บกักน้ำ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547
ภาพโครงการ :